แป้งพัฟ แป้งสมุนไพร แป้งกมลชนก
 
 
 
 
 
 
 
 
 

 
 
เครื่องสำอางจำเป็นต้องมี อย.หรือไม่?
ตามพระราชบัญญัติเครื่องสำอาง พ.ศ 2535 แบ่งเครื่องสำอางออกเป็น 3 ประเภท คือ
 
1.เครื่องสำอางควบคุมพิเศษ
เป็นกลุ่มผลิตภัณฑ์ ที่มีผลกระทบต่อสุขอนามัยของประชาชน หรือเกิดอันตรายในการใช้ เนื่องจากพิษภัย หรืออันตรายของเคมีภัณฑ์ที่เป็นส่วนผสม การกำกับดูแล ต้องผ่านการกลั่นกรอง ในระดับเข้มงวด ผลิตภัณฑ์ที่มีสารควบคุมพิเศษ เช่น ยาสีฟันผสมฟลูออไรด์ น้ำยาย้อมผม ผงฟอกสีผม เป็นต้น ผู้ผลิตจำหน่ายเครื่องสำอางควบคุมพิเศษ ต้องขึ้นทะเบียนตำรับเครื่องสำอาง จนได้รับใบสำคัญการขึ้นทะเบียนแล้ว เมื่อจะเริ่มทำการผลิตเครื่องสำอางเมื่อใด จะต้องแจ้งให้สำนักงานคณะกรรมการอาหาร และยาทราบ พร้อมทั้งชำระค่าธรรมเนียมรายปีด้วย
 
2.เครื่องสำอางควบคุม
เป็นกลุ่มผลิตภัณฑ์ ที่มีผลกระทบต่อสุขอนามัยของประชาชน หรืออาจเกิดอันตรายในการใช้ได้ แต่ระดับความรุนแรงน้อยกว่าเครื่องสำอางควบคุมพิเศษ ระดับการกำกับดูแล ลดลงจากเครื่องสำอางควบคุมพิเศษ ผลิตภัณฑ์ที่ใช้กับเส้นผมที่มีสารควบคุม เช่น ผลิตภัณฑ์ที่มีสารขจัดรังแค ซิงก์ไพริไทโอน ไพรอคโทนโอลามีน และคลิมบาโซลเป็นต้น รวมทั้ง ผ้าอนามัย ผ้าเย็น หรือกระดาษเย็น แป้งฝุ่นโรยตัว และแป้งน้ำ ผู้ผลิตเพื่อจำหน่ายเครื่องสำอางควบคุม จะต้องมาแจ้งรายละเอียดต่อสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา หรือสำนักงานสาธารณสุขจังหวัด ที่มีแหล่งผลิตตั้งอยู่ ก่อนการผลิตไม่น้อยกว่า 15 วัน และต้องชำระค่าธรรมเนียมรายปี จึงจะทำการผลิตได้
 
3.เครื่องสำอางทั่วไป
เป็นกลุ่มผลิตภัณฑ์ ที่มีผลกระทบหรืออันตรายน้อยไม่รุนแรง ถึงระดับที่จะจัดเป็นเครื่องสำอางทั้ง 2 กลุ่มที่กล่าวมา จึงได้จัดเครื่องสำอางประเภทนี้ไว้ เป็นเครื่องสำอางทั่วไป ซึ่งระดับการกำกับดูแลเข้มงวดน้อยที่สุด กล่าวคือ ในกรณีผลิตให้จัดทำฉลากภาษาไทย ให้ถูกต้อง และครบถ้วน ผลิตภัณฑ์สำหรับกลุ่มนี้ได้แก่ ผลิตภัณฑ์ที่ไม่มีสารควบคุมพิเศษ และสารควบคุม เช่น เจล มูส ผลิตภัณฑ์ย้อมผมกึ่งถาวร (Semi- permanent Hair Dye) และ แชมพู ครีมนวดผม สเปรย์ฉีดผม เจลบำรุงเส้นผม ผลิตภัณฑ์ปรับสภาพเส้นผม เป็นต้น
 
สำหรับ KP Herbal กมลชนกพฤกษาสมุนไพร จัดเป็น ผลิตภัณฑ์ เวชสำอาง สมุนไพร คะ จัดอยู่ในหัวข้อ 3 เพราะไม่มีสารเคมีอันตราย เจือปน ทีนี้ พอจะเข้าใจแล้วนะคะ ว่า ทำไมเครื่องสำอาง บางอัน มี อย.บางอันไม่มี อย เพราะเครื่องสำอางส่วนมากจะจัดอยู่ในกลุ่ม "เครื่องสำอางทั่วไป" มีข้อสังเกตในการเลือกซื้อ (เครื่องสำอางทั่วไป) ต้องมีฉลากภาษาไทย ให้ครบทั้ง 8 ข้อคือ
 
1. ชื่อเครื่องสำอาง
2. ประเภทหรือชนิดของเครื่องสำอาง
3. ชื่อของส่วนประกอบสำคัญ
4. ชื่อและที่ตั้งของผู้ผลิต กรณีเป็นเครื่องสำอางที่ผลิตในประเทศ ชื่อและที่ตั้งของผู้นำเข้าและระบุชื่อผู้ผลิตและประเทศ ผู้ผลิต กรณีเป็นเครื่องสำอางนำเข้า
5. วันเดือนปีที่ผลิต
6. วิธีใช้เครื่องสำอาง
7. ปริมาณสุทธิ
8. คำเตือนเกี่ยวกับอันตรายที่อาจจะเกิดขึ้นตามที่กฎหมายกำหนด (ถ้ามี)
 
ต่อไปจะเลือกซื้อเครื่องสำอาง ควรจะดูรายละเอียดที่กล่าวมานี้ นะคะ จะได้ ปลอดภัย
อ้างอิง : คู่มือผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางเพื่อเศรษฐกิจชุมชน
 
 
Copyrights © 2014 Kamolchanokherbal. All rights reserved.